::ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี::
หน้าแรก ภูิมิืศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว วัด อุทยาน
::ประวัติจังหวัดอุบลราชธานี::
 
พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบันตามแผนที่ของกรมแผนที่ทหารบกไทย พิมพ์ไว้เมื่อประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว มีความว่า พื้นที่นี้อยู่ในอาณาจักรขอมมาถึง 842 ปี ลักษณะเป็นแคว้น และมีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว คงจะเป็นพวกขอมละว้าหรือไทยโบราณ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวถึงวิธีการตั้งเมืองในเขตมณฑลอุดรและอีสานในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไว้อย่างชัดเจนว่า "……………วิธีการตั้งเมืองต่างๆ ในมณฑลอุดรและอีสานเมื่อรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 เป็นรัฎฐาภิบาลโนบายอย่างประเสริฐ เพราะเป็นเวลาที่ผู้คนแตกฉานซ่านเซ็นหนีภัยรวบรวมกันตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อื่นบ้าง เที่ยวซุกซ่อนอยู่ในป่าบ้าง ทิ้งบ้านเมืองเป็นที่ร้างว่างเปล่าอยู่ทั่วไป ถ้าใช้กำลังออกติดตามไล่ต้อนผู้คนให้กลับ ก็คงยิ่งตื่นเต้น หรือมิฉะนั้นก็อาจต้องสู้ต้องฆ่าฟันกัน ที่ตั้งตนในท้องถิ่นเป็นเจ้าเมืองร้างให้เที่ยวเกลี้ยกล่อมพาผู้คนมาเป็นพลเมืองไม่ต้องใช้อำนาจ อาจทำได้ด้วยยินดีด้วยกัน ทุกฝ่ายก็สำเร็จประโยชน์ความมุ่งหมาย เจ้าเมืองไหนเกลี้ยกล่อมคนมาได้มาก ก็ได้ทรัพย์เศษส่วนและได้ผู้คนสำหรับอาศัยใช้สอยมากขึ้น ก็เติมใจขวนขวายตั้งบ้านเมือง ฝ่ายราษฎรที่เที่ยวหลบหนีเดือดร้อนลำบากอยู่ เมื่อรู้ว่าบ้านเมืองกลับเรียบร้อยอย่างเดิมก็ยินดีที่จะกลับมา….."
วิธีการตั้งเมืองในเขตมณฑลอุดร และอีสานที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวได้ดังที่ได้ยกมาอ้างครั้งนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริงมากที่สุด แม้ในการตั้งเมืองอุบลราชธานีก็เช่นกัน ดังที่พอจะวิเคราะห์ได้ว่า "…… เดิมพื้นที่มณฑลลาวกาว นี้เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนป่า อันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่าพวกข่า ส่วย กวย ซึ่งมีอยู่ในฝั่งโขงตะวันออกบัดนี้

ประกอบกับในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ได้เกิดจราจลและแย่งชิงราชสมบัติที่กรุงเวียงจันทน์ ราษฏรบางส่วนจึงอพยพหลบนี้หนีภัยข้ามลำน้ำโขงมาทางฝั่งตะวันตก แยกย้ายกันตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่ที่เห็นว่ามีความอุดมสมบูรณ์ ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดใกล้เคียงในปัจจุบัน ตลอดแนวลำน้ำโขงจนถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ บุคคลที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับนับถือจากคนส่วนใหญ่ ก็จะได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้า ทั้งนี้นอกจากทำหน้าที่คุ้มครองดูแลกลุ่มของตนให้อยู่เย็นเป็นสุขแล้ว ก็เพื่อป้องกันภัยรุกรานจากเวียงจันทน์ด้วย

ลิขสิทธิ์ © 2010 www.issaras.com. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
Designed by JoomlArt.com.